เว็บบล็อกบันทึกผลการเรียนรู้วิชา graphic design for packaging ของ นายอนุสรณ์ เสาร์ศรี
วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
สรุปการเรียนการสอน ประจำวันที่ 18 พฤศจิกายน 2558
นำเสนอผลงาน
รูปที่1 : ภาพแสดงรายละเอียดต่างๆของตัวผลิตภัณฑ์ พร้อม MoodBorad ส1-ส3
รูปที่2 : ภาพแสดงรายละเอียดสติกเกอร์ราเบล
รูปที่3 : ภาพแสดงรายละเอียดต่างๆของตัวผลิตภัณฑ์ พร้อม MoodBorad ส1-ส3
รูปที่4 : ภาพแสดงรายละเอียดต่างๆของตัวผลิตภัณฑ์ พร้อม MoodBorad ส1-ส3
รูปที่5 : ภาพแสดงรายละเอียดกล่องสบู่ใบบัวบก
รูปที่6 : ภาพแสดงรายละเอียดกล่องสบู่ใบบัวบก
รูปที่1 : ภาพแสดง MoodBorad ส1-ส3
วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2558
สรุปการเรียนการสอน ประจำวันที่ 14 ตุลาคม 2558
งานเดี่ยว(โครงการส่วนบุคคล)
ให้ทำตามแบบฟอร์ม สามารถดาวน์โหลดได้ที่เวป site.google.com มี proposal นำมาเสนอ ทำเหมือน ส1-ส3 ให้สู้กับงานดีไซด์เก่าและเราต้องแข่งกับงานดีไซด์เดิม แต่ต้องไม่ทำร้ายตัวสินค้าที่เราออกแบบไว้แล้ว
Thailis-Thai Library Integrated System สำหรับการศึกษางานวิจัยเป็นฐานข้อมูลใหญ่ของประเทศไทย
วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2558
สรุปการเรียนการสอน ประจำวันที่ 7 ตุลาคม 2558
นำเสนอผลงาน
รูปที่1 : ภาพแสดงรายละเอียดต่างๆของตัวผลิตภัณฑ์ พร้อม MoodBorad ส1-ส3
รูปที่2 : ภาพแสดงรายละเอียดต่างๆของตัวผลิตภัณฑ์ พร้อม MoodBorad ส1-ส3
รูปที่3 : ภาพแสดงรายละเอียดต่างๆของตัวผลิตภัณฑ์ พร้อม MoodBorad ส1-ส3
รูปที่4 : ภาพแสดงรายละเอียดต่างๆของตัวผลิตภัณฑ์
รูปที่5 : ภาพแสดงรายละเอียด Moodborad ส1
รูปที่6 : ภาพแสดงรายละเอียด Moodborad ส2
รูปที่7 : ภาพแสดงรายละเอียด Moodborad ส3
วันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2558
สรุปการเรียนการสอน ประจำวันที่ 23 กันยายน 2558
กำหนดการสอบ
วันที่ 7 ตุลาคม ส1-ส3 ขั้นตอนการทำงานทั้งหมด กราฟิก รูปแบบ ขั้นตอนการทำงานทั้งหมด งานดีไซด์ (ส่งก่อน 6 โมงเย็น จัดวางไว้บนโต๊ะ) สอบปฎิบัติการภาคเรียน 5 แต้ม สอบมิดเทอมออนไลน์ 30นาที
งาน artwork อัพลงเวปบล็อค และส่งให้ผู้ประกอบการเชค พร้อมข้อความการตอบรับการออกแบบ
ฟังการสรุปของเพื่อนในห้องเกี่ยวกับ บรรจุภัณฑ์ กราฟิก
สมุนไพรกระถาง - เป็นงานทดลอง ตัวบรรจุภัณฑ์เป็นโครงสร้างพลาสติกใสตัวกระถางทำจากถุงเพื่อย่อยสลายได้ถุงด้านบนคุมรอบตัวสมุนไพร เน้นสีสันตามชนิดของสมุนไพร ใช้โทนสีร้อน ตัวถุงซีนในตัวเพื่อให้ตัวต้นไม้มีความสดเสมอ
ชาอินทรีย์ - ดอกไม้มีใบชาผสม ตัวบรรจุภัณฑ์มีความโปร่งใส มองเห็นตัวสินค้าได้ งานกราฟิกเน้นการไล่เชดโทนสีตามสีต่างๆเพื่อเพิ่มลูกเล่น มีความไหลลื่นตามเชดสีนั้นๆ
ครีมบำรุงผิว - กราฟิกเป็นการจัดวางรูปของตัวของดอกไม้ในมุมมองขอบกล่อง เพิ่มลูกเล่นการมองเห็นของสายตา
แบบกล่อง
วันที่ 7 ตุลาคม ส1-ส3 ขั้นตอนการทำงานทั้งหมด กราฟิก รูปแบบ ขั้นตอนการทำงานทั้งหมด งานดีไซด์ (ส่งก่อน 6 โมงเย็น จัดวางไว้บนโต๊ะ) สอบปฎิบัติการภาคเรียน 5 แต้ม สอบมิดเทอมออนไลน์ 30นาที
งาน artwork อัพลงเวปบล็อค และส่งให้ผู้ประกอบการเชค พร้อมข้อความการตอบรับการออกแบบ
ฟังการสรุปของเพื่อนในห้องเกี่ยวกับ บรรจุภัณฑ์ กราฟิก
สมุนไพรกระถาง - เป็นงานทดลอง ตัวบรรจุภัณฑ์เป็นโครงสร้างพลาสติกใสตัวกระถางทำจากถุงเพื่อย่อยสลายได้ถุงด้านบนคุมรอบตัวสมุนไพร เน้นสีสันตามชนิดของสมุนไพร ใช้โทนสีร้อน ตัวถุงซีนในตัวเพื่อให้ตัวต้นไม้มีความสดเสมอ
ชาอินทรีย์ - ดอกไม้มีใบชาผสม ตัวบรรจุภัณฑ์มีความโปร่งใส มองเห็นตัวสินค้าได้ งานกราฟิกเน้นการไล่เชดโทนสีตามสีต่างๆเพื่อเพิ่มลูกเล่น มีความไหลลื่นตามเชดสีนั้นๆ
ครีมบำรุงผิว - กราฟิกเป็นการจัดวางรูปของตัวของดอกไม้ในมุมมองขอบกล่อง เพิ่มลูกเล่นการมองเห็นของสายตา
แบบกล่อง
รูปที่1 : แสดงรายละเอียดกราฟิกและข้อความของงานทั้งด้านหน้าและด้านหลังของกล่อง
รูปที่2 : แสดงรายละเอียดกราฟิกและข้อความของงานด้านข้างซ้ายและด้านข้างขวาของกล่อง
รูปที่3 : แสดงรายละเอียดกราฟิกและข้อความของงานด้านบนและด้านล่างของกล่อง
รูปที่4 : แสดงรายละเอียดกราฟิกและข้อความของงานมุมมอง Perspective
ฝากศึกษาเครื่องมือ template maker.nl ศึกษาโครงสร้าง สีสัน ลวดลาย เขียนแบบเพิ่มใน AI (5ตัว) ส่งหลับสอบ
อ้างอิง : http://www.templatemaker.nl/
สรุปการเรียนการสอน ประจำวันที่ 16 กันยายน 2558
อาจารย์ให้ ศึกษาดูงานเวปบล็อก chainatbran / prachinburi-aec ศึกษาดูงานใน issua ของคนอื่นและของอาจารย์เพื่อศึกษางานและนำไปใช้
ฟังการสรุปของเพื่อนในห้องเกี่ยวกับ บรรจุภัณฑ์ กราฟิก
นัทแอนด์ไบท์ - ขนมสุขภาพดี บรรจุภัณฑ์เน้นสีสันสดใส ใช้ตัวฟ้อนท์แบบหนาดูสนุกสนาน ตัวกราฟิกบนตัวงานใช้รูปของขนมในแบบต่างๆมาใช้ควบคู่กับการงานวาด เพื่มเพิ่มลูกเล่นให้งานกราฟิกดูสนุกมากขึ้น ขนาดบรรจุภัณฑ์มีขนาดเล็กเหมาะแก่การพกพา
Sasame Gifts - คือการรับออกแบบการห่อของขวัญในรูปแบบต่างๆ ด้วยวิธีการห่อที่มีลัษณะโดดเด่น มีลูกเล่น ตัวกล่องของขวัญใช้ฟ้อนท์แบบหนา ขี้เล่น สีสันสดใส มีแบบ pop up สำหรับ ลูกค้าในวัยต่างๆ เพื่อเพิ่มลูกเล่น
Arctic Power Berries - ตัวบรรจุภัณฑ์เป็นกล่องรูปทรงกลม มีลวดลายดอกไม้ มีตราสัญลักษณ์สินค้าที่มีเอกลักษณ์ พื้นหลังใช้เนื้อของไม้ในแบบต่างๆแตกต่างกันออกไป ฝาปิดเน้นโทนสีจากตัวของผลไม้ที่บรรจุอยู่ในกล่องบรรจุภัณฑ์ ตัวอักษรเป็นฟ้อนท์แบบ แซนซารีฟ
กาแฟคั่วบด สแควร์ - ตัวบรรจุภัณฑ์มีสีดำทึบ โลโก้เป็นตัวสัตว์ในวรรณคดีฝรั่ง ตัวฟ้อนท์ใช้สีแดงเพื่อตัดกับตัวสีของบรรจุภัณฑ์ เพิ่มความโดดเด่นของตัวบรรจุภัณฑ์
Fuit - กระดาษชำระรูปผลไม้ ทรงกระบอก แบบม้วนกระดาษ ใช้รูปผลไม้ในการเอามาทำตัวงานดีไซด์โดยตรง แกนกลางใช้สำหรับดึงกระดาษ
ข้าวกล่องทานเล่น - เป็นงานดีไซด์สำหรับคนที่ต้องการห่ออาหารในแบบของงานสไตล์แบบจีนมีต้นไม้ ใบไม้สีสันสดใส สีสด ตามแบบงานของคนจีน มีที่ถือสำหรับถือกลับบ้านได้
ขวดเก็บความเย็น - ดีไซด์เป็นโครงสร้างของตัวฮีโร่ ใช้ตัวหุ้มตัวขวดแบบต่างๆ ตัวงานทำมาจากผ้ายืด เพื่อให้ง่ายต่อการสวมใส่กับตัวขวด
ขวดน้ำหอม - ตัวขวดมีขนาดสี่เหลี่ยมพื้นผ้า ลายไม้ ใช้ฟ้อนท์สีดำ ด้านหน้ามีการเพิ่มช่องในการมองเห็นตัวสินค้า
ฟังการสรุปของเพื่อนในห้องเกี่ยวกับ บรรจุภัณฑ์ กราฟิก
นัทแอนด์ไบท์ - ขนมสุขภาพดี บรรจุภัณฑ์เน้นสีสันสดใส ใช้ตัวฟ้อนท์แบบหนาดูสนุกสนาน ตัวกราฟิกบนตัวงานใช้รูปของขนมในแบบต่างๆมาใช้ควบคู่กับการงานวาด เพื่มเพิ่มลูกเล่นให้งานกราฟิกดูสนุกมากขึ้น ขนาดบรรจุภัณฑ์มีขนาดเล็กเหมาะแก่การพกพา
Sasame Gifts - คือการรับออกแบบการห่อของขวัญในรูปแบบต่างๆ ด้วยวิธีการห่อที่มีลัษณะโดดเด่น มีลูกเล่น ตัวกล่องของขวัญใช้ฟ้อนท์แบบหนา ขี้เล่น สีสันสดใส มีแบบ pop up สำหรับ ลูกค้าในวัยต่างๆ เพื่อเพิ่มลูกเล่น
Arctic Power Berries - ตัวบรรจุภัณฑ์เป็นกล่องรูปทรงกลม มีลวดลายดอกไม้ มีตราสัญลักษณ์สินค้าที่มีเอกลักษณ์ พื้นหลังใช้เนื้อของไม้ในแบบต่างๆแตกต่างกันออกไป ฝาปิดเน้นโทนสีจากตัวของผลไม้ที่บรรจุอยู่ในกล่องบรรจุภัณฑ์ ตัวอักษรเป็นฟ้อนท์แบบ แซนซารีฟ
กาแฟคั่วบด สแควร์ - ตัวบรรจุภัณฑ์มีสีดำทึบ โลโก้เป็นตัวสัตว์ในวรรณคดีฝรั่ง ตัวฟ้อนท์ใช้สีแดงเพื่อตัดกับตัวสีของบรรจุภัณฑ์ เพิ่มความโดดเด่นของตัวบรรจุภัณฑ์
Fuit - กระดาษชำระรูปผลไม้ ทรงกระบอก แบบม้วนกระดาษ ใช้รูปผลไม้ในการเอามาทำตัวงานดีไซด์โดยตรง แกนกลางใช้สำหรับดึงกระดาษ
ข้าวกล่องทานเล่น - เป็นงานดีไซด์สำหรับคนที่ต้องการห่ออาหารในแบบของงานสไตล์แบบจีนมีต้นไม้ ใบไม้สีสันสดใส สีสด ตามแบบงานของคนจีน มีที่ถือสำหรับถือกลับบ้านได้
ขวดเก็บความเย็น - ดีไซด์เป็นโครงสร้างของตัวฮีโร่ ใช้ตัวหุ้มตัวขวดแบบต่างๆ ตัวงานทำมาจากผ้ายืด เพื่อให้ง่ายต่อการสวมใส่กับตัวขวด
ขวดน้ำหอม - ตัวขวดมีขนาดสี่เหลี่ยมพื้นผ้า ลายไม้ ใช้ฟ้อนท์สีดำ ด้านหน้ามีการเพิ่มช่องในการมองเห็นตัวสินค้า
สรุปการเรียนการสอน ประจำวันที่ 9 กันยายน 2558
อาจารย์ให้ ศึกษาดูงานเวปบล็อก chainatbran ของอาจารย์ ศึกษาขั้นตอนกระบวนการต่างๆจากแบบอย่างของอาจารย์ได้เลย อาจารย์วิเคราะห์ แยกแยะ ขั้นตอนในการทำงานกราฟิกบรรจุภัณฑ์ งานทั้งหมดที่อาจารย์ได้ทำการออกแบบ โลโก้ต่างๆ ควรทำหลายๆแบบเพื่อให้ลูกค้าได้มีโอกาสเลือก และต้องสามารถอธิบายงานดีไซด์ให้กับลูกค้าได้ด้วย
งาน ส2
แหล่งอ้างอิง : http://chainatbrand.blogspot.com/p/blog-page_31.html
ฟังการสรุปของเพื่อนในห้องเกี่ยวกับ บรรจุภัณฑ์ กราฟิก
The fouction of package ตัวบรรจุภัณฑ์มันฝรั่ง รูปแบบใหม่ ให้ง่ายต่อการเปิดรับประทาน มีกระดาษสำหรับเอาไว้ใช้ดึงออกมาเพื่อไม่ทำให้มือเปื้อนมือ
ลินดา ตัวบรรจุภัณฑ์ที่สามารถทดแทนได้ ผักมีโอกาสอยู่ได้นานยิ่งขึ้น
บรรจุภัณฑ์เนย เมื่อเปิดฝาออกสามารถนำส่วนของฝามาใช้ทาเนยได้ เป็นการทดแทนอุปกรณ์ มีประโยชน์ในการใช้สอย อาจมีปัญหาทีกาวหรือการซีนฝาปิดที่อัดปิดอยู่ในฝา เช่น ฝุ่น คราบสิ่งสกปรกต่างๆ
งาน ส2
รูปที่1 : รูปการดราฟงานอัตลักษณ์ของร้าน ช้างกุญชร
รูปที่2 : รูปแบบฟ้อนที่ใช้ในการเอามามีส่วนประกอบในการคิดวิเคาระห์เพื่อใช้ในการออกแบบ
รูปที่3 :ขั้นตอนการดราฟรูปเพื่อใช้ในการประกอบการทำตัว label
รูปที่4 : ตัวแบบ label ทีได้ทำการออกแบบเพื่อใช้ในการแปะลงตัวสินค้าของช้างกุญชร
รูปที่5 : แสดงการวางกราฟิกต่างๆลงบน template
รูปที่6 : แสดง moodborad ขั้นตอนของการดำเนินเงินของ ส2
วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2558
สรุปการเรียนการสอน ประจำวันที่ 2 กันยายน 2558
งานเดี่ยว
อาจารย์ให้ไปศึกษาดูงานที่เมืองทองธานี เพื่อใช้ในงานโครงการเดี่ยวของ concept คือต้นทุนทางวัฒนธรรม ออกแบบอัตลักษณ์ ศึกษาข้อมูลทางการตลาดของคู่แข่ง งบในการลงทุน 500 บาท (ค่าวัตถุดิบ) ให้ได้สินค้า 12ชิ้น (1โหล)
สอนวิธีการใช้โปรแกรม ในการลอกลาย ขั้นตอนการคิดวิเคราะห์งานในการออกแบบดีไซด์งานบน บรรจุภัณฑ์ พร้อมแนะนำ เวปบล็อคของอาจารย์เพื่อการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
ฟังการสรุปของเพื่อนในห้องเกี่ยวกับ บรรจุภัณฑ์ กราฟิก
Sabai Arom เป็นงานคอเลชั่นบ้านสวน ใช้วัตถุดิบเป็นตะไคร้เป็นหลัก มีทั้งชนิดครีม และ น้ำ ได้รับรางวัล Amarican Package Design Award 2015
ผลิตภัณฑ์สมุนไพร มะพร้าว มีการใช้ผ้ากำมะยี่มาใช้ในการออกแบบให้เป็นเหมือนชุดเครื่องแป้ง เวลาเปิดออกมาใช้งาน
MUSQ ผลิตภัณฑ์จากอสเตเลีย ตัวแพ็คเก็จ มีการดีไซด์ฟ้อนให้มีการทดแทนรูปแบบโครงสร้างตัวหนังสือ โดยใช้สีขาวและดำ ในการเพิ่มการมองตัวหนังสือให้ดูมีความเข้าใจ หรือ เรียกว่าการเข้าร่วมของตัวหนังสือก็ได้
งาน
ส่ง ส2 ร่าง artwork
สรุปการเรียนการสอน ประจำวันที่ 26 สิงหาคม 2558
อาจารย์อธิบายถึง
ความหมาย โครงสร้าง โลโก้ กราฟิก การใช้ฟ้อนท์ ในการดีไซน์งานและผลิตภัณฑ์ต่างๆ แนะนำการสืบค้นข้อมูลเพื่อใช้ในการออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ คำศัพท์ ขั้นตอนวิธีต่างๆเพื่อให้ นักศึกษาได้มีการสืบค้นข้อมูลอย่างถูกต้อง พร้อมให้ศึกษาข้อมูลตัวอย่างที่อาจารย์ได้ทำการรวบรวมข้อมูลไว้ให้ เพื่อใช้ในการทำเป็นแบบอย่างได้
วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2558
สรุป การออกแบบสำหรับบรรจุภัณฑ์
ความหมายของการออกแบบสำหรับบรรจุภัณฑ์ ในความคิดของนักศึกษา มีดังนี้
1. การออกแบบสำหรับบรรจุภัณฑ์ทำเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคควรเป็นอันดับแรกของงานดีไซด์
2. สามารถตอบโจทย์ความต้องการของตัวผู้ว่าจ้าง และความต้องการในส่วนต่างได้ ตัวผู้ทำงานดีไซด์จะต้องสามารถนำเสนอความคิดแนวทางในการดีไซด์ เพื่อให้สอดคล้องกับกลุ่มผู้บริโภค คุณสมบัติ รสนิยม อายุของกลุ่มเป้าหมาย ไลฟ์สไตล์ ให้มีความเหมาะสม
3. ต้องมีการคิดวิเคราะห์ รูปแบบโครงสร้างของตัวบรรจุภัณฑ์ วัสดุที่ใช้ในการผลิต ขั้นตอนในการผลิต ความแข็งแรงทนทาน ความเหมาะสม สอดคล้องกับสินค้า
4. มองเห็นปัญหาของตัวบรรจุภัณฑ์แบบเก่าในเรื่องของวัสดุ การห่อ ค่าใช้จ่ายต้นทุนต่างๆในการผลิต
3. ต้องมีการคิดวิเคราะห์ รูปแบบโครงสร้างของตัวบรรจุภัณฑ์ วัสดุที่ใช้ในการผลิต ขั้นตอนในการผลิต ความแข็งแรงทนทาน ความเหมาะสม สอดคล้องกับสินค้า
4. มองเห็นปัญหาของตัวบรรจุภัณฑ์แบบเก่าในเรื่องของวัสดุ การห่อ ค่าใช้จ่ายต้นทุนต่างๆในการผลิต
5. สร้างความแตกต่างในงานดีไซด์ ความแปลกใหม่ สามารถดึงดูดให้กลุ่มผู้บริโภคมีความสนใจ มองเห็นได้อย่างชัดเจนเมื่อนำไปวางจำหน่ายในพื้นที่จัดจำหน่ายและการจัดงานต่างๆ
ที่มา อ้างอิง : http://www.ispackaging.com/en/packaging-design-articles.html
ที่มา อ้างอิง : http://www.ispackaging.com/en/packaging-design-articles.html
วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2558
การออกแบบบรรจุภัณฑ์
การออกแบบบรรจุภัณฑ์ อาจแบ่งประเภทลักษณะการออกแบบได้ 2 ประเภทคือ
1. การออกแบบลักษณะโครงสร้าง
2. การออกแบบกราฟฟิก
การออกแบบลักษณะโครงสร้าง หมายถึง การกำหนดรูปลักษณะ โครงสร้างวัสดุที่ใช้ตลอดจนกรรมวิธีการผลิต การบรรจุ ตลออดจนการขนส่งเก็บรักษาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์นับตั้งแต่จุดผลิตจนถึงมือผู้บริโภค
ภาพที1 การร่างแบบลักษณะโครงสร้าง

การออกแบบกราฟฟิก หมายถึง การสร้างสรรค์ลักษณะส่วนประกอบภายนอกของโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ให้สามารถสื่อสาร สื่อความหมาย ความเข้าใจ (To Communicate) ในอันที่จะให้ผลทางด้านจิตวิทยา (Psychological Effects) ต่อผู้บริโภค และอาศัยหลักศิลปะการจัดภาพให้เกิดความประสานกลมกลืนกันอย่างสวยงาม ตามวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้
ภาพที่ 2ลวดลายกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์
ที่มา : https://s-media-cache-ak0.pinimg.com/736x/8c/8a/a7/8c8aa7b8d6ea1a4b24767f02669b3687.jpg
กระบวนการออกแบบโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ในกระบวนการออกแบบโครงสร้างของบรรจุภัณฑ์ ผู้วิจัยต้องอาศัยความรู้และข้อมูลจากหลายด้านการอาศัยความช่วยเหลือจากผู้ชำนาญการบรรจุ (PACKAGING SPECIALISTS) หลาย ๆ ฝ่ายมาร่วมปรึกษาและพิจารณาตัดสินใจ ซึ่งอิงทฤษฏีของ ปุ่น คงเจริญเกียรติและสมพร คงเจริญเกียรติ (2542:71-83) โดยที่ผู้วิจัยจะกระทำหน้าที่เป็นผู้สร้างภาพพจน์ (THE IMAGERY MAKER) จากข้อมูลต่าง ๆ ให้ปรากฏเป็นรูปลักษณ์ของบรรจุภัณฑ์จริง ลำดับขั้นตอนของการดำเนินงาน นับตั้งแต่ตอนเริ่มต้น จนกระทั่งสิ้นสุดจนได้ผลงานออกมาดังต่อไปนี้ เช่น
1. กำหนดนโยบายหรือวางแผนยุทธศาสตร์ (POLICY PERMULATION OR ATRATEGIC PLANNING) เช่น ตั้งวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการผลิต เงินทุนงบประมาณ การจัดการ และการกำหนดสถานะ (SITUATION) ของบรรจุภัณฑ์ ในส่วนนี้ทางบริษัทแด่ชีวิตจะเป็นผู้กำหนด
ที่มา : http://www.ofaconsultingservices.com/wp-content/uploads/2011/10/Strategic-Planning-575x382.jpg
2. การศึกษาและการวิจัยเบื้องต้น (PRELIMINARY RESEARCH) ได้แก่ การศึกษาข้อมูลหลักการทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และวิศวกรรมทางการผลิต ตลอดจนการค้นพบสิ่งใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นและเกี่ยวข้องสอดคล้องกันกับการออกแบบโครงสร้างของบรรจุภัณฑ์
3. การศึกษาถึงความเป็นไปได้ของบรรจุภัณฑ์ ( FEASIBILITY STUDY ) เมื่อได้ศึกษาข้อมูลต่าง ๆ แล้วก็เริ่มศึกษาความเป็นไปได้ของบรรจุภัณฑ์ด้วยการสเก็ต (SKETCH DESING) ภาพ แสดงถึงรูปร่างลักษณะ และส่วนประกอบของโครงสร้าง 2-3 มิติ หรืออาจใช้วิธีการอื่น ๆ ขึ้นรูปเป็นลักษณะ 3 มิติ ก็สามารถกระทำได้ ในขั้นตอนนี้จึงเป็นการเสนอแนวความคิดสร้างสรรค์ขั้นต้นหลาย ๆ แบบ (PRELIMINARY IDFAS) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในเทคนิควิธีการบรรจุ และการคำนวณเบื้องต้น ตลอดจนเงินทุนงบประมาณดำเนินการ และเพื่อการพิจารณาคัดเลือกแบบร่างไว้เพื่อพัฒนาให้สมบูรณ์ในขั้นตอนต่อไป
4. การพัฒนาและแก้ไขแบบ ( DESIGN REFINEMENT ) ในขั้นตอนนี้ผู้ออกแบบจะต้องขยายรายละเอียดปลีกย่อยต่าง ๆ (DETAILED DESIGN ) ของแบบร่างให้ทราบอย่างละเอียดโดยเตรียมเอกสารหรือข้อมูลประกอบ มีการกำหนดเทคนิคและวิธีการผลิต การบรรจุ วัสดุ การประมาณราคา ตลอดจนการทดสอบทดลองบรรจุ เพื่อหารูปร่าง รูปทรงหรือส่วนประกอบต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับหน้าที่ของบรรจุภัณฑ์ที่ต้องการด้วยการสร้างรูปจำลองง่าย ๆ (MOCK UP) ขึ้นมา ดังนั้นผู้ออกแบบจึงต้องจัดเตรียมสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้อย่างละเอียดรอบคอบเพื่อการนำเสนอ (PRESENTATION) ต่อลูกค้าและผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องให้เกิดความเข้าใจเพื่อพิจารณาให้ความคิดเห็นสนับสนุนยอมรับหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติมในรายละเอียดที่ชัดเจนยิ่งขึ้นเช่น การทำแบบจำลองโครงสร้างเพื่อศึกษาถึงวิธีการบรรจุ และหน้าที่ของบรรจุภัณฑ์ก่อนการสร้างแบบเหมือนจริง
5. การพัฒนาต้นแบบจริง (PROTOTYPE DEVELOPMENT) เมื่อแบบโครงสร้างได้รับการแก้ไขและพัฒนา ผ่านการยอมรับแล้ว ลำดับต่อมาต้องทำหน้าที่เขียนแบบ (MECHANICAL DRAWING) เพื่อกำหนดขนาด รูปร่าง และสัดส่วนจริงด้วยการเขียนภาพประกอบแสดงรายละเอียดของรูปแบบแปลน (PLAN) รูปด้านต่าง ๆ (ELEVATIONS) ทัศนียภาพ (PERSPECTIVE) หรือภาพแสดงการประกอบ (ASSEMBLY) ของส่วนประกอบต่าง ๆมีการกำหนดมาตราส่วน (SCALE) บอกชนิดและประเภทวัสดุที่ใช้มีข้อความ คำสั่ง ที่สื่อสารความเข้าใจกันได้ในขบวนการผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ของจริง แต่การที่จะได้มาซึ่งรายละเอียดเพื่อนำไปผลิตจริงดังกล่าวนั้น ผู้ออกแบบจะต้องสร้างต้นแบบจำลองที่สมบูรณ์ (PROTOTYPE) ขึ้นมาก่อนเพื่อวิเคราะห์ (ANALYSIS) โครงสร้างและจำแนกแยกแยะส่วนประกอบต่าง ๆ ออกมาศึกษา ดังนั้น PROTOTYPE ที่จัดทำขึ้นมาในขั้นนี้จึงควรสร้างด้วยวัสดุที่สามารถให้ลักษณะ และรายละเอียดใกล้เคียงกับบรรจุภัณฑ์ของจริงให้มากที่สุดเท่าที่จะกระทำได้เช่นอาจจะทำด้วยปูนพลาสเตอร์ ดินเหนียว กระดาษ ฯลฯ และในขั้นนี้ การทดลองออกแบบกราฟฟิคบนบรรจุภัณฑ์ ควรได้รับการพิจารณมร่วมกันอย่างใกล้ชิคกับลักษณะของโครงสร้างเพื่อสามารถนำผลงานในขั้นนี้มาคัดเลือกพิจารณาความมีประสิทธภาพของรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ที่สมบูรณ์
6. การผลิตจริง (PRODUCTION) สำหรับขั้นตอนนี้ส่วนใหญ่จะเป็นหน้าที่รับผิดชอบของฝ่ายผลิตในโรงงานที่จะต้องดำเนินการตามแบบแปลนที่นักออกแบบให้ไว้ ซึ่งทางฝ่ายผลิตจะต้องจัดเตรียมแบบแม่พิมพ์ของบรรจุภัณฑ์ให้เป็นไปตามกำหนด และจะต้องสร้างบรรจุภัณฑ์จริงออกมาจำนวนหนึ่งเพื่อเป็นตัวอย่าง (PRE- PRODUCTION PROTOTYPES) สำหรับการทดสอบทดลองและวิเคราะห์เป็นครั้งสุดท้าย หากพบว่ามีข้อบกพร่องควรรีบดำเนินการแก้ไขให้เป็นที่เรียบร้อยแล้วจึงดำเนินการผลิตเพื่อนำไปบรรจุและจำหน่ายในลำดับต่อไป
ที่มา อ้างอิง : http://www.mew6.com/composer/package/package_8.php
----------------------------------------------------------
ความเป็นมาของการบรรจุภัณฑ์
ในยุคหินเมื่อมนุษย์ล่าสัตว์ได้เขาก็จะใช้หนังสัตว์ หรือใบไม้ห่อหุ้มสัตว์ที่ล่ามาได้เพื่อป้องกันพวกแมลง แสงแดดและฝน นอกจากนี้ในการพกพาอาหารหรือวัตถุที่ต้องการ สิ่งที่ใช้ในการห่อหุ้มจะเป็น ใบไม้ เปลือกไม้ เปลือกหอย กระบอกไม้ กระเพาะสัตว์ หนังสัตว์ ฯลฯ เป็นต้น การรู้จักการแก้ปัญหาด้วยการนำเอาวัตถุดิบ (Raw Materials) จากธรรมชาติเจ้ามาเป็นอุปกรณ์ช่วยเคลื่อนย้ายวัตถุมวลสาร การกระทำดังกล่าวจึงนับว่าเป็นที่มาของการบรรจุ (Filling) ต่อมามนุษย์เริ่มรู้จักการประดิษฐ์ คิดค้นภาชนะบรรจุด้วยการดัดแปลงคุณสมบัติทางกายภาพของวัสดุธรรมธรรมชาติให้ มีรูปร่างและหน้าที่ใช้สอยเพิ่มขึ้นนี่เอง จึงจัดว่าเป็นการออกแบบบรรจุภัณฑ์ดั้งเดิม (Primitive Packaging Design) ที่มนุษย์ในสมัยก่อนได้กระทำขึ้นตามสภาพการเรียนรู้และการค้นพบวัสดุในแต่ ละยุค
การออกแบบการบรรจุภัณฑ์ จึงเริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการค้าและการบริการ ในฐานะของสิ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกแก่การขนส่งสินค้า (Aid Transportation) โดยทำหน้าที่ขั้นพื้นฐานอันดับแรกคือ ปกป้อง คุ้มครองสินค้าให้ปลอดภัยจากความเสียหาย อันเนื่องมาจากการกระทบกระเทือน และป้องกันสิ่งปนเปื้อนที่ไม่พึงประสงค์ (To Prevent Spillage And Contamination) ที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างการขนส่งสินค้าผลิตภัณฑ์จากโรงงานผลิตไปจน กระทั่งถึงมือผู้บริโภค ซึ่งบทบาทนี้มีผลทำให้รูปแบบของบรรจุภัณฑ์ (Package Form) มีการพัฒนาขึ้นมารับรอง มีการออกแบบภาชนะบรรจุแบบปิด (Closed Container) เช่น ถังไม้ (Barrel) การรู้จักปิดผนึกบรรจุภัณฑ์ (Container Closure) เช่น มีฝาจุกปิดขวด (Bottle Plug Seals) ฯลฯ เป็นต้น เทคนิคและกรรมวิธีการบรรจุที่พัฒนาขึ้นตามหน้าที่ใช้สอยเหล่านี้ จึงเป็นผลทำให้เกิดการพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่หลากหลายลักษณะตามกาลเวลา และการค้นพบวัสดุหรือเทคโนโลยีที่นำมาใช้
ในราว ค . ศ . 1200 รูปแบบของการบรรจุภัณฑ์ ที่ปรากฏเป็นหลักฐาน ได้แก่
หนัง[Leather] -การห่อ พับเป็น กระเป๋า ถุง
ผ้า [Cloth] -การห่อ พับเป็น ถุง กระสอบ
ไม้ [Wood] -ถังไม้ หีบ ไม้ ลัง กำปั่น
วัชพืชหรือผลิตภัณฑ์จากไม้[Grass/Split Wood] -ตะกร้า เสื่อ สิ่งทอ
หิน [Stone] -กาน้ำ คณโฑ
ดิน [Earthenware] -หม้อ ถ้วยชาม ฯลฯ
โลหะ [Metal] -หม้อ ถ้วยชาม กาน้ำ
แก้ว [Glass] -แก้วน้ำ ขวด ชาม คณโฑ
ในสมัยต่อมาเมื่อมีความก้างหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ ด้านศิลปศาสตร์และเทคโนโลยี เครื่องกลโรงงานต่าง ๆ ถูกคิดค้นพัฒนามากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงของการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม(The Industrial Revolution) ที่เริ่มมาตั้งแต่ต้น ศตวรรษที่ 17 ทำให้ระบบการผลิตกลายเป็นการผลิตแบบขนานใหญ่ (Mass Production) และทำให้เกิดการพัฒนารูปแบบของบรรจุภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพ สามารถสนองความสะดวกสบายต่อการขนส่งสินค้า ความต้องการด้านความปลอดภัย ความรวดเร็ว ความต้องการสินค้าที่มีคุณภาพ และความต้องการความหลากหลายของสินค้า ฯลฯ จึงทำให้เกิดการตรากฎหมาย (Legislation) หน่วยบรรจุภัณฑ์ (Unit Packaging) ตราสินค้า (Brand Identification) และการโฆษณา (Advertising)
- มีการตรากฎหมายขึ้นเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ให้ผู้ผลิตเคารพในกรรมวิธีการผลิตที่สะอาดบริสุทธิ์และถูกต้องตามหลัก สุขภาพอนามัย (Respect To Sanitation And Purity) ไม่ปิดป้ายฉลาก หลอกลวงผู้บริโภคเกินความจริง
- หน่วยบรรจุ เกิดขึ้นเพราะให้ความคุ้มครองผลิตภัณฑ์ได้ดีกว่า
วัชพืชหรือผลิตภัณฑ์จากไม้[Grass/Split Wood] -ตะกร้า เสื่อ สิ่งทอ
หิน [Stone] -กาน้ำ คณโฑ
ดิน [Earthenware] -หม้อ ถ้วยชาม ฯลฯ
โลหะ [Metal] -หม้อ ถ้วยชาม กาน้ำ
แก้ว [Glass] -แก้วน้ำ ขวด ชาม คณโฑ
ในสมัยต่อมาเมื่อมีความก้างหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ ด้านศิลปศาสตร์และเทคโนโลยี เครื่องกลโรงงานต่าง ๆ ถูกคิดค้นพัฒนามากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงของการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม(The Industrial Revolution) ที่เริ่มมาตั้งแต่ต้น ศตวรรษที่ 17 ทำให้ระบบการผลิตกลายเป็นการผลิตแบบขนานใหญ่ (Mass Production) และทำให้เกิดการพัฒนารูปแบบของบรรจุภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพ สามารถสนองความสะดวกสบายต่อการขนส่งสินค้า ความต้องการด้านความปลอดภัย ความรวดเร็ว ความต้องการสินค้าที่มีคุณภาพ และความต้องการความหลากหลายของสินค้า ฯลฯ จึงทำให้เกิดการตรากฎหมาย (Legislation) หน่วยบรรจุภัณฑ์ (Unit Packaging) ตราสินค้า (Brand Identification) และการโฆษณา (Advertising)
- มีการตรากฎหมายขึ้นเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ให้ผู้ผลิตเคารพในกรรมวิธีการผลิตที่สะอาดบริสุทธิ์และถูกต้องตามหลัก สุขภาพอนามัย (Respect To Sanitation And Purity) ไม่ปิดป้ายฉลาก หลอกลวงผู้บริโภคเกินความจริง
- หน่วยบรรจุ เกิดขึ้นเพราะให้ความคุ้มครองผลิตภัณฑ์ได้ดีกว่า
- ตราฉลากสินค้าหรือยี่ห้อผลิตภัณฑ์ เริ่มมีความสำคัญเพราะทำให้ผู้บริโภคสามารถจดจำ และเลือกผลิตภัณฑ์ที่ต้องการตามคุณภาพได้
- ผู้บริโภคมีความรู้และประสบการณ์หลายด้านเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ หรือเลือกการบริโภคอย่างแพร่หลาย โดยผ่านวิธีการโฆษณาและประชาสัมพันธ์
ปรากฏการณ์เหล่านี้ทำให้ตัวบรรจุภัณฑ์ (Package) เริ่มเข้ามามีบทบาทแทนพนักงานขายมีความสำคัญมากในฐานะ “ ตัวแสดงสินค้า ” (The Representation Of Product) ที่ต้องการแสดงให้ผู้บริโภคเห็นถึงเนื้อในหรือเนื้อหา (Content) ของสินค้าด้วยการให้ข้อมูลรายละเอียดของสินค้าบนหีบห่อ โดยใช้เทคนิควิธีการออกแบบสมัยใหม่ที่สามารถดึงดูดผู้บริโภคได้ ดังนั้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมาจึงมีการพัฒนากรรมวิธีการผลิตบรรจุภัณฑ์หรือภาชนะบรรจุ ความเร็ว ความเข้าใจด้านศิลปะ และกราฟิกดีไซน์
ด้วยเหตุและปัจจัยดังที่กล่าวมาแล้ว จึงเป็นผลให้เกิดอาชีพเฉพาะขึ้นในวงการอุตสาหกรรม คือ อาชีพนักออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging Designer) ที่เพิ่งเกิดขึ้นในช่วงไม่กี่สิบปีที่ผ่านมานี้เอง ซึ่งนับว่าเป็นอาชีพใหม่ที่มีความสำคัญต่อวงการธุรกิจการค้าเป็นอย่างมาก ดังนั้น การออกแบบบรรจุภัณฑ์จึงเป็นวิทยาการที่เกี่ยวข้องกับคนหลายวงการ หลายอาชีพ และหลายวิทยาการ (Multidiscipline Profession) กล่าวคือ นักออกแบบบรรจุภัณฑ์ต้องศึกษาหาความรู้
วิวัฒนาการการออกแบบบรรจุภัณฑ์ [THE EVOLUTION OF PACKAGING DESIGN]
มนุษย์เรามีวิวัฒนาการจากยุคหนึ่งมาสู่อีกยุคหนึ่ง เช่นนี้ตลอดมา สิ่งนี้จะส่งผลสะท้อนต่อปัจจัย หรือองค์ประกอบในการดำรงชีวิตของมนุษย์เป็นอย่างมาก จากแรกเริ่มที่มนุษย์อยู่รวมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ และดำรงชีวิตง่าย ๆ ด้วยการอาศัยผลิตผลจากการเพาะปลูก หรือการเลี้ยงสัตว์เพียงจำนวนไม่มาก มีการพึ่งพาอาศัยและติดต่อกันในกลุ่มใกล้เคียงเท่านั้น ต่อมาเมื่อจำนวนประชากรมีมากขึ้น มีการแบ่งกลุ่มอาศัยออกเป็นหมู่เหล่า การผลิตเฉพาะเพียงบริโภคในครอบครัวเริ่มไม่พอเพียง จึงเริ่มมีระบบการแลกเปลี่ยนที่กว้างขวางขึ้น ในที่สุดระบบการผลิตก็เปลี่ยนรูปไปเกิดเป็นการผลิตแบบอุตสาหกรรม (Mass Production) ขึ้น การแลกเปลี่ยนสิ่งของเครื่องใช้ หรืออาหาร จึงขยายวงจากบุคคลใกล้เคียงไปเป็นการแลกเปลี่ยนกับบุคลในกลุ่มอื่น ในอาณาเขตที่กว้างขวางขึ้น
ในระยะแรกของการแลกเปลี่ยน การเคลื่อนย้ายสิ่งของเครื่องใช้ที่มีการแลกเปลี่ยน ก็อาศัยภาชนะตามพื้นบ้านที่ใช้กันอยู่ในครัวเรือนตามสะดวกแต่ต่อมาเมื่อการ แลกเปลี่ยนขยายขอบเขตจนถึงขนาดมีการซื้อขายและขยายขอบเขตวงกว้างออกไปมาก ๆ บรรจุภัณฑ์ใหม่ ๆ จึงเริ่มเข้ามามีบทบาท เริ่มมีการคิดค้นและประดิษฐ์บรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อสนองความต้องการในแต่ละกรณี เช่น ใช้ใบไม้มาทำกระทง ห่อขนม เอากิ่งไม้หรือเปลือกไม้มาสานทำกระจก ชะลอม ตะกร้า ฯลฯ ซึ่งบรรจุภัณฑ์เหล่านี้เป็นพื้นฐานมาจากการคิดค้นจากวัสดุธรรมชาติ และพัฒนามาเป็นบรรจุภัณฑ์ในยุคต่อ มา ซึ่งได้มีการคิดค้นวัสดุชนิดอื่น ๆ ที่จะสามารถตอบสนองประโยชน์ในการบรรจุภัณฑ์ได้กว้างขวาง และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
จากการศึกษาถึงวิวัฒนาการของบรรจุภัณฑ์ดังกล่าว เราจึงอาจแบ่งประเภทของบรรจุภัณฑ์ออกได้อย่างกว้าง ๆ เป็น 2 ประเภท คือ
1. บรรจุภัณฑ์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ธรรมชาติได้สร้างหีบห่อขึ้นเพื่อป้องกันและรักษาผลผลิตทางธรรมชาติได้อย่าง ดีเยี่ยมและชาญฉลาด โดยสร้างให้มีความเหมาะสมกับผลผลิตแต่ละชนิดไป อาทิเช่น เปลือกผลไม้ เปลือกไข่ เป็นต้น
2. บรรจุภัณฑ์ที่มนุษย์สร้างขึ้น เป็นบรรจุภัณฑ์ที่เกิดจากการที่มนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้น โดยได้คิดประดิษฐ์จากวัสดุต่าง ๆ เพื่อสนองประโยชน์นานาประการ เช่น เพื่อคุ้มครองป้องกันผลิตภัณฑ์เพื่อความสะดวกในการขนส่ง เพื่อการส่งเสริมการจำหน่าย ฯลฯ
สำหรับประเทศไทยเรา คำว่า “ บรรจุภัณฑ์ ” ดูจะเป็นคำใหม่ซึ่งคนไทยยังไม่คุ้นเคยนัก แต่ในความเป็นจริงแล้ว คนไทยนับว่าเป็นนักออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่มีความสามารถยิ่ง จะเห็นได้จากวิธีการนำเอาวัสดุธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ได้อย่างดียิ่ง เช่น การใช้ใบกล้วย ใบตาล ทางมะพร้าว ใบเตย ฯลฯ มาคิดประดิษฐ์เป็นห่ออาหารแบบต่าง ๆ การจักสานภาชนะต่าง ๆ จากไม้ไผ่ หวาย ต้นหญ้า ปอ ฯลฯ บรรจุภัณฑ์เหล่านี้มีรูปร่างลักษณะสวยงาม แปลกตา และสามารถสนองประโยชน์ได้อย่างดีในแต่ละกรณี เหมาะกับการบรรจุสิ่งของต่าง ๆ เช่น อาหารทั้งที่เป็นของแห้งหรือมีน้ำ หรือสิ่งของที่ต้องการความปลอดภัยและความสะดวกในการเคลื่อนย้ายอื่น ๆ
จากการที่มนุษย์ได้คิดนำวัสดุที่มีตามธรรมชาติมาประดิษฐ์เป็นบรรจุภัณฑ์ใช้ ในชีวิตประจำวันดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ความพยายามและความคิดสร้างสรรของมนุษย์ก็ยังไม่สิ้นสุดเมื่อเกิดความต้อง การขยายให้กว้างขึ้น เช่น การขยายขนาด และจำนวนของสินค้า การเคลื่อนย้ายของใหญ่ ๆ จำนวนมากต้องการบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม และแม้เมื่อความเจริญก้าวหน้าทางด้านการตลาดมากขึ้น บรรจุภัณฑ์ก็เข้ามามีบทบาทใช้เป็นเครื่องมือในทางการตลาดด้วย เช่น ใช้เป็นเครื่องช่วยในด้านการส่งเสริมการจำหน่าย ดังนั้นจึงได้มีการค้นคว้าคิดประดิษฐ์บรรจุภัณฑ์แบบใหม่ ๆ ตลอดจนปรับปรุง และค้นหาวัสดุที่ใช้ในการบรรจุให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น จนในที่สุดปัจจุบันเรามีวัสดุที่ใช้เพื่อการบรรจุภัณฑ์มากมายหลายชนิด อาทิเช่น กระดาษชนิดต่าง ๆ แผ่นโลหะ ใยสังเคราะห์ แก้ว พลาสติก ไม้ ฯลฯ
ความหมายของการบรรจุภัณฑ์ (Packaging)
การบรรจุภัณฑ์เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางการตลาด โดยเฉพาะปัจจุบันที่การผลิตสินค้า หรือบริการได้เน้นหรือให้ความสำคัญกับผู้บริโภค (Consumer Oriented) และจะได้เห็นว่าการบรรจุภัณฑ์มีบทบาทมากขึ้นเพราะลำพังตัวสินค้าเองไม่มีน วัตกรรม (Innvoation) หรือการพัฒนาอะไรใหม่อีกแล้ว ฉีกแนวไม่ออกเพราะได้มีการวิจัยพัฒนากันมานานจนถึงขั้นสุดยอดแล้ว จึงต้องมาเน้นกันที่บรรจุภัณฑ์กับการบรรจุหีบห่อ (Packaging) บรรจุภัณฑ์กับหีบห่อ (Package) ถือว่าเป็นคำคำเดียวกัน ทั้งนี้สุดแล้วแต่ผู้ใดประสงค์หรือชอบที่จะใช้คำใด
ความหมายของการบรรจุภัณฑ์หรือการบรรจุหีบห่อ (Packaging) ได้มีผู้ให้คำจำกัดความไว้มากมายพอสรุปได้ดังนี้
- ผู้บริโภคมีความรู้และประสบการณ์หลายด้านเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ หรือเลือกการบริโภคอย่างแพร่หลาย โดยผ่านวิธีการโฆษณาและประชาสัมพันธ์
ปรากฏการณ์เหล่านี้ทำให้ตัวบรรจุภัณฑ์ (Package) เริ่มเข้ามามีบทบาทแทนพนักงานขายมีความสำคัญมากในฐานะ “ ตัวแสดงสินค้า ” (The Representation Of Product) ที่ต้องการแสดงให้ผู้บริโภคเห็นถึงเนื้อในหรือเนื้อหา (Content) ของสินค้าด้วยการให้ข้อมูลรายละเอียดของสินค้าบนหีบห่อ โดยใช้เทคนิควิธีการออกแบบสมัยใหม่ที่สามารถดึงดูดผู้บริโภคได้ ดังนั้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมาจึงมีการพัฒนากรรมวิธีการผลิตบรรจุภัณฑ์หรือภาชนะบรรจุ ความเร็ว ความเข้าใจด้านศิลปะ และกราฟิกดีไซน์
ด้วยเหตุและปัจจัยดังที่กล่าวมาแล้ว จึงเป็นผลให้เกิดอาชีพเฉพาะขึ้นในวงการอุตสาหกรรม คือ อาชีพนักออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging Designer) ที่เพิ่งเกิดขึ้นในช่วงไม่กี่สิบปีที่ผ่านมานี้เอง ซึ่งนับว่าเป็นอาชีพใหม่ที่มีความสำคัญต่อวงการธุรกิจการค้าเป็นอย่างมาก ดังนั้น การออกแบบบรรจุภัณฑ์จึงเป็นวิทยาการที่เกี่ยวข้องกับคนหลายวงการ หลายอาชีพ และหลายวิทยาการ (Multidiscipline Profession) กล่าวคือ นักออกแบบบรรจุภัณฑ์ต้องศึกษาหาความรู้
วิวัฒนาการการออกแบบบรรจุภัณฑ์ [THE EVOLUTION OF PACKAGING DESIGN]
มนุษย์เรามีวิวัฒนาการจากยุคหนึ่งมาสู่อีกยุคหนึ่ง เช่นนี้ตลอดมา สิ่งนี้จะส่งผลสะท้อนต่อปัจจัย หรือองค์ประกอบในการดำรงชีวิตของมนุษย์เป็นอย่างมาก จากแรกเริ่มที่มนุษย์อยู่รวมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ และดำรงชีวิตง่าย ๆ ด้วยการอาศัยผลิตผลจากการเพาะปลูก หรือการเลี้ยงสัตว์เพียงจำนวนไม่มาก มีการพึ่งพาอาศัยและติดต่อกันในกลุ่มใกล้เคียงเท่านั้น ต่อมาเมื่อจำนวนประชากรมีมากขึ้น มีการแบ่งกลุ่มอาศัยออกเป็นหมู่เหล่า การผลิตเฉพาะเพียงบริโภคในครอบครัวเริ่มไม่พอเพียง จึงเริ่มมีระบบการแลกเปลี่ยนที่กว้างขวางขึ้น ในที่สุดระบบการผลิตก็เปลี่ยนรูปไปเกิดเป็นการผลิตแบบอุตสาหกรรม (Mass Production) ขึ้น การแลกเปลี่ยนสิ่งของเครื่องใช้ หรืออาหาร จึงขยายวงจากบุคคลใกล้เคียงไปเป็นการแลกเปลี่ยนกับบุคลในกลุ่มอื่น ในอาณาเขตที่กว้างขวางขึ้น
ในระยะแรกของการแลกเปลี่ยน การเคลื่อนย้ายสิ่งของเครื่องใช้ที่มีการแลกเปลี่ยน ก็อาศัยภาชนะตามพื้นบ้านที่ใช้กันอยู่ในครัวเรือนตามสะดวกแต่ต่อมาเมื่อการ แลกเปลี่ยนขยายขอบเขตจนถึงขนาดมีการซื้อขายและขยายขอบเขตวงกว้างออกไปมาก ๆ บรรจุภัณฑ์ใหม่ ๆ จึงเริ่มเข้ามามีบทบาท เริ่มมีการคิดค้นและประดิษฐ์บรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อสนองความต้องการในแต่ละกรณี เช่น ใช้ใบไม้มาทำกระทง ห่อขนม เอากิ่งไม้หรือเปลือกไม้มาสานทำกระจก ชะลอม ตะกร้า ฯลฯ ซึ่งบรรจุภัณฑ์เหล่านี้เป็นพื้นฐานมาจากการคิดค้นจากวัสดุธรรมชาติ และพัฒนามาเป็นบรรจุภัณฑ์ในยุคต่อ มา ซึ่งได้มีการคิดค้นวัสดุชนิดอื่น ๆ ที่จะสามารถตอบสนองประโยชน์ในการบรรจุภัณฑ์ได้กว้างขวาง และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
จากการศึกษาถึงวิวัฒนาการของบรรจุภัณฑ์ดังกล่าว เราจึงอาจแบ่งประเภทของบรรจุภัณฑ์ออกได้อย่างกว้าง ๆ เป็น 2 ประเภท คือ
1. บรรจุภัณฑ์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ธรรมชาติได้สร้างหีบห่อขึ้นเพื่อป้องกันและรักษาผลผลิตทางธรรมชาติได้อย่าง ดีเยี่ยมและชาญฉลาด โดยสร้างให้มีความเหมาะสมกับผลผลิตแต่ละชนิดไป อาทิเช่น เปลือกผลไม้ เปลือกไข่ เป็นต้น
2. บรรจุภัณฑ์ที่มนุษย์สร้างขึ้น เป็นบรรจุภัณฑ์ที่เกิดจากการที่มนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้น โดยได้คิดประดิษฐ์จากวัสดุต่าง ๆ เพื่อสนองประโยชน์นานาประการ เช่น เพื่อคุ้มครองป้องกันผลิตภัณฑ์เพื่อความสะดวกในการขนส่ง เพื่อการส่งเสริมการจำหน่าย ฯลฯ
สำหรับประเทศไทยเรา คำว่า “ บรรจุภัณฑ์ ” ดูจะเป็นคำใหม่ซึ่งคนไทยยังไม่คุ้นเคยนัก แต่ในความเป็นจริงแล้ว คนไทยนับว่าเป็นนักออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่มีความสามารถยิ่ง จะเห็นได้จากวิธีการนำเอาวัสดุธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ได้อย่างดียิ่ง เช่น การใช้ใบกล้วย ใบตาล ทางมะพร้าว ใบเตย ฯลฯ มาคิดประดิษฐ์เป็นห่ออาหารแบบต่าง ๆ การจักสานภาชนะต่าง ๆ จากไม้ไผ่ หวาย ต้นหญ้า ปอ ฯลฯ บรรจุภัณฑ์เหล่านี้มีรูปร่างลักษณะสวยงาม แปลกตา และสามารถสนองประโยชน์ได้อย่างดีในแต่ละกรณี เหมาะกับการบรรจุสิ่งของต่าง ๆ เช่น อาหารทั้งที่เป็นของแห้งหรือมีน้ำ หรือสิ่งของที่ต้องการความปลอดภัยและความสะดวกในการเคลื่อนย้ายอื่น ๆ
จากการที่มนุษย์ได้คิดนำวัสดุที่มีตามธรรมชาติมาประดิษฐ์เป็นบรรจุภัณฑ์ใช้ ในชีวิตประจำวันดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ความพยายามและความคิดสร้างสรรของมนุษย์ก็ยังไม่สิ้นสุดเมื่อเกิดความต้อง การขยายให้กว้างขึ้น เช่น การขยายขนาด และจำนวนของสินค้า การเคลื่อนย้ายของใหญ่ ๆ จำนวนมากต้องการบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม และแม้เมื่อความเจริญก้าวหน้าทางด้านการตลาดมากขึ้น บรรจุภัณฑ์ก็เข้ามามีบทบาทใช้เป็นเครื่องมือในทางการตลาดด้วย เช่น ใช้เป็นเครื่องช่วยในด้านการส่งเสริมการจำหน่าย ดังนั้นจึงได้มีการค้นคว้าคิดประดิษฐ์บรรจุภัณฑ์แบบใหม่ ๆ ตลอดจนปรับปรุง และค้นหาวัสดุที่ใช้ในการบรรจุให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น จนในที่สุดปัจจุบันเรามีวัสดุที่ใช้เพื่อการบรรจุภัณฑ์มากมายหลายชนิด อาทิเช่น กระดาษชนิดต่าง ๆ แผ่นโลหะ ใยสังเคราะห์ แก้ว พลาสติก ไม้ ฯลฯ
ความหมายของการบรรจุภัณฑ์ (Packaging)
การบรรจุภัณฑ์เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางการตลาด โดยเฉพาะปัจจุบันที่การผลิตสินค้า หรือบริการได้เน้นหรือให้ความสำคัญกับผู้บริโภค (Consumer Oriented) และจะได้เห็นว่าการบรรจุภัณฑ์มีบทบาทมากขึ้นเพราะลำพังตัวสินค้าเองไม่มีน วัตกรรม (Innvoation) หรือการพัฒนาอะไรใหม่อีกแล้ว ฉีกแนวไม่ออกเพราะได้มีการวิจัยพัฒนากันมานานจนถึงขั้นสุดยอดแล้ว จึงต้องมาเน้นกันที่บรรจุภัณฑ์กับการบรรจุหีบห่อ (Packaging) บรรจุภัณฑ์กับหีบห่อ (Package) ถือว่าเป็นคำคำเดียวกัน ทั้งนี้สุดแล้วแต่ผู้ใดประสงค์หรือชอบที่จะใช้คำใด
ความหมายของการบรรจุภัณฑ์หรือการบรรจุหีบห่อ (Packaging) ได้มีผู้ให้คำจำกัดความไว้มากมายพอสรุปได้ดังนี้
1. Packaging หมายถึง งานเทคนิคที่ต้องอาศัยความชำนาญ ประสบการณ์และความคิดสร้างสรรค์ ในอันที่จะออกแบบและผลิตหีบห่อให้มีความเหมาะสมกับสินค้าที่ผลิตขึ้นมา ให้ความคุ้มครองสินค้า ห่อหุ้มสินค้าตลอดจนประโยชน์ใช้สอย อาทิเช่น ความสะดวกสบายในการหอบหิ้ว พกพาหรือการใช้ เป็นต้น
2. Packaging หมายถึง กลุ่มของกิจกรรมในการวางแผนเกี่ยวกับการออกแบบ การผลิตภาชนะบรรจุหรือสิ่งหุ้มห่อสินค้าบรรจุภัณฑ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับฉลาก (Label) และตรายี่ห้อ (Brand name)
3. Packaging หมายถึง ผลรวมของศาสตร์ (Science) ศิลป์ (Art) และเทคโนโลยีของการออกแบบ การผลิตบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้า เพื่อการขนส่งและการขายโดยเสียค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม
4. Packaging หมายถึง การใช้เทคโนโลยีและเศรษฐศาสตร์เพื่อหาวิธีการรักษาสภาพเดิมของสินค้าจนกว่า จะถึงมือผู้บริโภคคนสุดท้าย เพื่อให้ยอดขายมากที่สุดและต้นทุนต่ำสุด
5. Packaging หมายถึง กิจกรรมทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและผลิตรูปร่างหน้าตาของภาชนะบรรจุ สิ่งห่อหุ้มตัวผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์
6. Packaging เป็นทั้งศิลปะและวิทยาศาสตร์ ซึ่งถูกมองในหลายแง่โดยบุคคลฝ่ายต่าง ๆ ในกระบวนการผลิตสินค้า กล่าวคือ ฝ่ายเทคนิคจะคิดถึงปฏิกิริยาระหว่างภาชนะบรรจุกับผลิตภัณฑ์และสิ่งแวดล้อม ฝ่ายผลิตจะพิจารณาต้นทุนและประสิทธิภาพของระบบการบรรจุ ฝ่ายจัดซื้อจะคำนึงถึงต้นทุนของวัสดุทางการบรรจุ และฝ่ายขายจะเน้นถึงรูปแบบและสีสันที่สะดุดตา ซึ่งจะช่วยในการโฆษณาผลิตภัณฑ์ ด้วยเหตุนี้ Packaging ที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมจะเกิดขึ้นได้จากการประนีประนอมของทุกฝ่ายที่ เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ภาชนะบรรจุซึ่งมีน้ำหนักเบาและราคาต้นทุนต่ำ แต่ในขณะเดียวกันมีรูปแบบสวยงาม และให้ความคุ้มครองอย่างเพียงพอแก่ผลิตภัณฑ์ภายในได้
7. Packaging หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตลอดในขบวนการทางตลาดที่เกี่ยวเนื่องกับการออกแบบสร้างสรรค์ ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อให้กับผลิตภัณฑ์8. Packaging หมายถึง การนำเอาวัสดุ เช่น กระดาษ พลาสติก แก้ว โลหะ ไม้ ประกอบเป็นภาชนะหุ้มห่อสินค้า เพื่อประโยชน์ในการใช้สอยมีความแข็งแรง สวยงาม ได้สัดส่วนที่ถูกต้อง สร้างภาพพจน์ที่ดี มีภาษาในการติดต่อสื่อสาร และทำให้เกิดผลความพึงพอใจจากผู้ซื้อสินค้า
ส่วนความหมายของ “ หีบห่อ ” “ บรรจุภัณฑ์ ” หรือ “ ภาชนะบรรจุ ” (Package) มีผู้ให้คำจำกัดความไว้มากมายเช่นกัน ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
1. Package หมายถึง สิ่งห่อหุ้มหรือบรรจุภัณฑ์ รวมทั้งภาชนะที่ใช้เพื่อการขนส่งผลิตภัณฑ์จากแหล่งผู้ผลิตไปยังแหล่งผู้ บริโภค หรือแหล่งใช้ประโยชน์ หรือวัตถุประสงค์เบื้องต้นในการป้องกันหรือรักษาผลิตภัณฑ์ ให้คงสภาพตลอดจนคุณภาพใกล้เคียงกันกับเมื่อแรกผลิตให้มากที่สุด
2. Package หมายถึง สิ่งที่ทำหน้าที่รองรับหรือหุ้มผลิตภัณฑ์ เพื่อทำหน้าที่ป้องกันผลิตภัณฑ์จากความเสียหายต่าง ๆ ช่วยอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในการขนส่งและการเก็บรักษา ช่วยกระตุ้นการซื้อตลอดจนแจ้งรายละเอียดของผลิตภัณฑ์
นอกจากนี้ยังมีคำอีก 2 คำ ที่เกี่ยวข้องกับการบรรจุภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์ คือ
1. Package หมายถึง สิ่งห่อหุ้มหรือบรรจุภัณฑ์ รวมทั้งภาชนะที่ใช้เพื่อการขนส่งผลิตภัณฑ์จากแหล่งผู้ผลิตไปยังแหล่งผู้ บริโภค หรือแหล่งใช้ประโยชน์ หรือวัตถุประสงค์เบื้องต้นในการป้องกันหรือรักษาผลิตภัณฑ์ ให้คงสภาพตลอดจนคุณภาพใกล้เคียงกันกับเมื่อแรกผลิตให้มากที่สุด
2. Package หมายถึง สิ่งที่ทำหน้าที่รองรับหรือหุ้มผลิตภัณฑ์ เพื่อทำหน้าที่ป้องกันผลิตภัณฑ์จากความเสียหายต่าง ๆ ช่วยอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในการขนส่งและการเก็บรักษา ช่วยกระตุ้นการซื้อตลอดจนแจ้งรายละเอียดของผลิตภัณฑ์
นอกจากนี้ยังมีคำอีก 2 คำ ที่เกี่ยวข้องกับการบรรจุภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์ คือ
1. การบรรจุภัณฑ์ (Packing) หมายถึง วิธีการบรรจุผลิตภัณฑ์ โดยการห่อหุ้ม หรือใส่ลงในบรรจุภัณฑ์ปิด หรือสิ่งอื่น ๆ ที่ปลอดภัย
2. ตู้ขนส่งสินค้า (Container) หมายถึง ตู้ขนาดใหญ่ที่ใช้ขนส่งสินค้า ซึ่งมีขนาดและรูปแบบแตกต่างกันตามวิธีการขนส่ง ( ทางเรือหรือทางอากาศ ) โดยทั่วไปจะมีขนาดมาตรฐานเป็นสากล คำว่า “ Container ” นี้อาจใช้ในความหมายที่ใส่ของเพื่อการขนส่งและจัดจำหน่าย ในปัจจุบัน
2. ตู้ขนส่งสินค้า (Container) หมายถึง ตู้ขนาดใหญ่ที่ใช้ขนส่งสินค้า ซึ่งมีขนาดและรูปแบบแตกต่างกันตามวิธีการขนส่ง ( ทางเรือหรือทางอากาศ ) โดยทั่วไปจะมีขนาดมาตรฐานเป็นสากล คำว่า “ Container ” นี้อาจใช้ในความหมายที่ใส่ของเพื่อการขนส่งและจัดจำหน่าย ในปัจจุบัน
ที่มา อ้างอิง : http://www.flex-ible.co.th/?cl=th&el=th&module=page&page_id=263
----------------------------------------------------------
การออกแบบบรรจุภัณฑ์

วัสดุที่ใช้สำหรับการ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ (packaging) ในปัจจุบันมีมากมายหลากหลาย เช่น กระดาษ พลาสติก โลหะ แก้ว ฯลฯ ในที่นี้ขอกล่าวถึงกระดาษซึ่งมีความหลากหลาย ทั้งสีสัน ลวดลาย และพื้นผิว การเลือกใช้กระดาษให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ เป็นอีกวิธีง่ายๆ ที่สร้างความโดดเด่น แตกต่าง และสะดุดตาได้อย่างมาก อีกทั้งยังสามารถสื่อสารบอกความเป็นตัวตน หรือประเภทของผลิตภัณฑ์นั้นๆอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์ที่มุ่งเน้นภาพลักษณ์การรักษาสิ่งแวดล้อม หากใช้กระดาษรีไซเคิลสีน้ำตาล ย่อมมีความชัดเจนในตัว และสื่อสารได้อย่างตรงเป้า ด้วยปัจจุบันสินค้าแต่ละประเภท โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง มีการแข่งขันกันอย่างสูง การออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging Design) และเลือกใช้วัสดุอย่างเหมาะสม ยอมสร้างพลังแรงดึงดูดจากผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี
การออกแบบบรรจุภัณฑ์
การออกแบบบรรจุภัณฑ์ของสินค้าแต่ละชนิดย่อมมีความแตกต่าง โดยยึดหลักการนำเสนอเพื่อการตอบสนอง การ ออกแบบบรรจุภัณฑ์จึงต้องการข้อมูลหลักที่สำคัญๆเช่น ผลิตภัณฑ์นั้นๆ ต้องการขายอะไร และอะไรคือความแตกต่างที่จะสร้างความโดดเด่นได้ ขายแบนด์ คุณสมบัติ รสนิยม ความคุ้มค่า ควรโฟกัสให้ชัด เพื่อการกำหนดรูปแบบ สีสันและลวดลาย อันนำไปเพื่อการตอบสนองต่อผลิตภัณฑ์นั้นๆ เช่นต้องการขายคุณสมบัติ ก็ต้องบอกได้เบื้องต้นว่าผลิตภัณฑ์มีคุณสมบัติอย่างไร ตอบสนองผู้ซื้ออย่างไร หากขายรสนิยม อายุของกลุ่มเป้าหมายนี้ต้องชัดเจน สีสัน ลวดลาย ต้องตอบสนองตามวัย เพศ ไลฟ์สไตล์ ขายความคุ้มค่า นำเสนอราคาและปริมาณ ของฟรีของแถมเพิ่มอีกก็กระตุ้นการซื้อได้เป็นอย่างดี ดังนั้นจึงต้องกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนว่าจะขายอะไร ให้ใคร เพื่อกำหนดทิศทางการออกแบบบรรจุภัณฑ์ได้อย่างเหมาะสม
สร้างความโดดเด่นง่ายๆ ด้วยวัสดุ
ก้าวแรกของความสำเร็จด้วย packaging design
การออกแบบบรรจุภัณฑ์ กล่องบรรจุภัณฑ์ ฉลากสินค้า (packaging design) มีความสำคัญเป็นอันดับแรกๆ ในการลงทุนเพื่อความสำเร็จในการจำหน่ายสินค้า เพราะบรรจุภัณฑ์ที่ได้รับการออกแบบเป็นอย่างดี คือจุดเริ่มต้นที่สำคัญและมีผลอย่างมากต่อยอดขายของสินค้า ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ และสามารถสื่อสารได้โดยตรงกับผู้บริโภค ด้วยสีสัน graphic รวมถึงข้อความที่สร้างความแตกต่างและโดดเด่น แต่การใช้สีและองค์ประกอบของ package design ควรคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายด้วย (target group) ผู้บริโภคกลุ่มใหญ่ซื้อสินค้าจากการเห็นบรรจุภัณฑ์ที่มีภาพลักษณ์ตรงใจการออกแบบบรรจุภัณฑ์ (packaging design) ที่ดียังสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์อีกด้วย หากเริ่มต้นด้วยดี บวกกับการทำตลาด โฆษณา ประชาสัมพันธ์ให้ถูกทิศทางอย่างต่อเนื่อง สินค้าย่อมประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน
ที่มา อ้างอิง : http://www.ispackaging.com/en/packaging-design-articles.html
การออกแบบกราฟิก
ความหมายของการออกแบบกราฟิก
เป็นลักษณะของการออกแบบพื้นผิว 2 มิติ เพื่อเป็นสื่อกลางสำหรับการถ่ายทอดข้อความความรู้สึกนึกคิด แลอารมณ์ จากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งเพื่อให้เข้าใจและรู้เรื่องโดยใช้ประสาทตาในการรับรู้เป็นส่วนใหญ่
ความสำคัญของการออกแบบงานกราฟิก
1. การออกแบบที่ดีต้องทำให้ข้อมูลที่กระจัดกระจายมีระเบียบมากขึ้น
2. ช่วยให้ระบบการถ่ายทอดข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็วและชัดเจน
3. ช่วยสร้างสรรค์งานสัญลักษณ์ทางสังคม เพื่อการสื่อความหมายร่วมกัน
4. ช่วยพัฒนาระบบการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
5. ช่วยให้เกิดจินตภาพ เกิดมีแนวคิดสิ่งใหม่อยู่เสมอ
6. ส่งเสริมให้เกิดค่านิยมทางความงาม
คุณค่าของงานกราฟิก
งานกราฟิกที่ดีจำทำให้เห็นถึงความคิดในการออกแบบเป็นเลิศ จะมีอิทธิพลโดนตรงที่จะโน้มน้าวผู้รับข้อมูล ให้เกิดความสนใจ การยอมรับ ในขณะเดียวกันยังแสดงถึง
1. เป็นสื่อกลางในการสื่อความหมายให้เกิดการเข้าใจตรงกัน
2. สามารถทำหน้าที่เป็นสื่อ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ เกิดการศึกษากับกลุ่มเป้าหมายได้
3. ช่วยให้งานเกิดความน่าสนใจ ประทับใจ แก่ผู้พบเห็น
4. ช่วยให้เกิดการกระตุ้นทางความคิด และการตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว
5. ก่อให้เกิดความคิกสร้างสรรค์
6. ทำให้ผู้พบเห็นเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทั้งทางด้านการกระทำและความคิด
อิทธิพลของศิลปะในการออกแบบกราฟิก
เพื่อต้องการให้งานกราฟิกมีคุณค่าและแสดงความหมายได้อย่างเต็มที่ องค์
ประกอบสำคัญที่จะช่วยให้งานกราฟิกมีความโดเด่นน่าสนใจ นักออกแบบจึงใช้หลักและวิธีการทางศิลปะเป็นแนวทางการออกแบบโดยพิจารณาดังนี้
1. รูปแบบตัวอักษรและขนาด
การสร้างรูปแบบตัวอักษรให้มีรูปแบบที่แปลกตา สวยงามจะช่วยเร่งเร้าความรู้สึกการตอบสนองได้เป็นอย่างดี โดยเน้นความชัดเจนสวยงามสอดคล้องกับจุดประสงค์ และขนาดตัวอักษรต้องมีความพอดี อ่านง่าย
การจัดพื้นที่ว่างในการออกแบบงานกราฟิก มีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดระเบียบของข้อมูลช่วยเน้นความชัดเจน และความเป็นระเบียบ ระยะห่างหรือพื้นที่ว่างช่วยพักสายตาในการอ่าน ทำ
ให้ดูสบายตา
3. การกำหนดสี
สีมีบทบาทอย่างมากที่จะช่วยเน้นความชัดเจน ทำให้สะดุดตา สร้างสรรค์ความสวยงาม การกำหนดสีใด ๆ ขึ้นอยู่กับประเภทของงานนั้น ๆ
4.การจัดวางตำแหน่งเป็นการจัดวางโครงร่างทั้งหมดก่อนที่จะกำหนดตำแหน่งขนาดของภาพประกอบ ตำแหน่งของข้อความทั้งหมด และส่วนประกอบอื่น ๆ ที่ปรากฏ ซึ่งต้องคำนึงถึงจุดเด่นที่ควรเน้น ความสมดุลต่าง ๆ ความสบายตาของการมอง คุณค่าของงานกราฟิก
งานกราฟิกที่ดีจำทำให้เห็นถึงความคิดในการออกแบบเป็นเลิศ จะมีอิทธิพลโดนตรงที่จะโน้มน้าวผู้รับข้อมูล ให้เกิดความสนใจ การยอมรับ ในขณะเดียวกันยังแสดงถึง
1. เป็นสื่อกลางในการสื่อความหมายให้เกิดการเข้าใจตรงกัน
2. สามารถทำหน้าที่เป็นสื่อ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ เกิดการศึกษากับกลุ่มเป้าหมายได้
3. ช่วยให้งานเกิดความน่าสนใจ ประทับใจ แก่ผู้พบเห็น
4. ช่วยให้เกิดการกระตุ้นทางความคิด และการตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว
5. ก่อให้เกิดความคิกสร้างสรรค์
6. ทำใหู้พบเห็นเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทั้งทางด้านการกระทำและความคิด
ประเภทของงานกราฟิก
การออกแบบงานกราฟิกใด ๆ ย่อมมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่แตกต่างกันไป ลักษณะเฉพาะของงานหรือเงื่อนไขต่าง ๆของงานและวิธีการดำเนินงานต้องสอดคล้องกับปัจจัยทุกด้านในการสร้างงานออกแบบจึงควรศึกษาถึงองค์ประกอบสำคัญ ๆ หลาย ๆ ด้าน แนวทางในการคิดงานกราฟิก จะแปรเปลี่ยนไปตามลักษณะของสื่อหรืองานแต่ละประเภท โดยสามารถจัดหมวดหมู่ได้ดังนี้
1.งานกราฟิกบนสื่อโฆษณาสิ่งพิมพ์
สื่อโฆษณามีหลายประเภทโดยเฉพาะอย่างยิ่งงานด้านสิ่งพิมพ์ ปัจจุบันในวงการธุรกิจนิยมใช้เป็นสื่อประเภทนี้ค่อนข้างสูง เพื่อช่วยในการส่งเสริมการขาย เพิ่มการตลาด วิธีในการสร้างสื่อสิ่งพิมพ์มีมากมายและตัวสื่อสิ่งพิมพ์เองก็มีการพัฒนาตัวเองให้ทันกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เข้ามา จึงช่วยส่งเสริมแนวทางในการออกแบบงานกราฟิก และเทคนิคในการออกแบบได้เป็นอย่างดี สื่อโฆษณามีอยู่หลายประเภทด้วยกัน แต่ที่ใช้กันมากเป็นเรื่องรูปแบบของการออกแบบสื่อที่น่าสนใจ ได้แก่ แผ่นป้ายโฆษณาหรือโปสเตอร์ แผ่นพับ แผ่นปลิว และบัตรเชิญ
2.แผ่นป้ายโฆษณาหรือโปสเตอร์
แผ่นป้ายโฆษณา หรือ โปสเตอร์ (poster) เป็นสื่อที่มีบทบาทอย่างมากในการประชา
สัมพันธ์เพราะสื่อประเภทนี้สามารถเผยแพร่ได้สะดวกและกว้างขวาง สามาระเข้าถึงกลุ่มบุคคลได้
ทุกเพศทุกวัย ทุกระดับการศึกษา มีความยืดหยุ่นในตัวสื่อได้เป็นอย่างดี ในการออกแบบสามารถ
สร้างรูปภาพประกอบ ตลอดจนแนวทางการออกแบบกราฟิกได้อย่างอิสระและสวยงาม
ลักษณะของแผ่นป้ายโฆษณาจะสามารถนำเสนอข้อมูลรายละเอียดได้มากพอสมควร ผลิตง่าย ใช้สะดวก จึงเป็นที่นิยมตลอดมา ในเบื้องต้นมีการกำหนดลักษณะกว้าง ๆ ของการออกแบบแผ่นป้ายโฆษณาว่า จะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ส่วนด้วยกันคือ
1. ต้องเป็นแผ่นเดียวสามารถปะติดลงบนผิวใดก็ได้
2. ต้องมีข้อความประกอบเสมอ
3. ต้องปิดไว้ในที่สาธารณะ
4. ต้องผลิตขึ้นจำนวนมากได้
แผ่นป้ายโฆษณาหรือโปสเตอร์ที่ดีควรจะสนองแนวคิดหลัก 5 ประการได้แก่
1. จะต้องตอบสนองจุดประสงค์ในการสื่อความหมายได้อย่างเต็มที่
2. จะต้องมีความชัดเจนในภาพลักษณ์ และข้อความที่ใช้ในการสื่อความหมายและจะต้องมีความกระจ่าง มีขนาดที่พอเหมาะกัน
3. รูปภาพและข้อความที่นำเสนอควรมีความสอดคล้องสัมพันธ์ส่งเสริมกัน
4. จะต้องมีความเข้าใจ ดึงดูดความสนใจกลุ่มเป้าหมายได้ดีที่สุด
5. ต้องมีความกระทัดรัดกลายเป็นจุดสนใจ และจุดเด่นที่ควรจดจำ
รูปแบบตัวอักษร การสร้างสรรตัวอักษรให้สวยงามแปลกตา และสอดคล้องกับลักษณะข้อความมีความชัดเจน ทำให้เกิดความน่าสนใจมากขึ้น เทคนิคการออกแบบและตกแต่งตัวอักษรให้สวยงามและเป็นแรงบันดาลใจให้อยากรู้ อยากดู อยากเห็น มากกว่ารูปแบบตัวอักษรแบบธรรมดา 3.สีของตัวอักษร การกำหนดเรื่องที่เกี่ยวกับสี เพื่อที่จะเน้นข้อความให้เด่นชัดขึ้น สวยงามขึ้น การกำหนดสีให้ยึดหลัก 3 ประการ คือ
ค่าน้ำหนักของสี (Tone Of color)
สีของตัวอักษรควรมีค่าน้ำหนักที่ตัดกับสีพื้นและควรเป็นสีที่ขัดแย้งกับสีพื้นมากที่สุด การตัดกันมากจะทำให้ตัวอักษรดูเด่นมาขึ้น
ทสีของตัวอักษรต้องไม่ใช้หลายสีจนเกินไป ภายใน 1 หน้ากระดาษข้อความเดียวกันควรใช้สีเดียวกันและไม่ควรใช้สีตัดกันระหว่างสีพื้นกับสีของตัวอักษรเพราะจะทำให้ลายตาควรใช้สีที่เหมาะสมกับคำหรือข้อความนั้น ๆเช่นข้อความที่เน้นความเร่าร้อน ตื่นเต้น อาจจะใช้สีแดง สีส้ม ข้อความที่กล่าวถึงความสงบนิ่ง ความเย็นอาจจะใช้ข้อความสีน้ำเงิน หรือสีฟ้า
กราฟฟิกกับสังคมปัจจุบัน
ในปัจจุบันโลกได้วิวัฒนาการไปอย่างรวดเร็ว มีการมช้ระบบการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น มีการกระจายข้อมูลไปอย่างรวดเร็ว โดยอาจจะเป็นการกระจายข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เข้าใจความหมาย เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก เนื่องมาจากความแตกต่างกันทั้งทางด้าน สังคมวัฒนธรรม ความเชื่อของแต่ละท้องถิ่นดังนั้นการใช้งานกราฟิกที่ดีสามารถสือความหมายได้ชัดเจนถูกต้อง จะช่วยให้มนุษย์สามารถสื่อสารกันได้ เข้าใจกันได้ เกิดจินตนาการร่วมกัน
ในการนำสื่อกราฟิกมาใช้งานนั้นไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารทางใด ผู้ที่นำเอาสื่อกราฟฟิกมาใช้ต้องคำนึงถึงเงื่อนไขและปัญหาเหล่านี้ด้วย คือ เพื่อนำมาใช้ในการขบคิด เพื่อแก้ปัญหา จัดระบบข้อมูล และการนำเอาศิลปะมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการสื่อสารมากที่สุด
ที่มา อ้างอิงจาก : http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~schutcha/graphic/Gtext02.htm
-------------------------------------------------------
การออกแบบภาพกราฟิก
การออกแบบ (Design)
การออกแบบ (Design) คือศาสตร์แห่งความคิด การแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ เพื่อสนองต่อจุดมุ่งหมาย และนำกลับมาใช้งานได้อย่างน่าพึงพอใจ คราวนี้ประเด็นอยู่ที่คำว่า " พึงพอใจ " ความพึงพอใจนั้นมองหลัก ๆ มีอยู่ทั้งหมด 3 ประเด็นสำคัญคือ
1. ความสวยงาม (Aesthetic) เป็นความพึงพอใจแรกที่คนเราสัมผัสได้ก่อน มนุษย์เราแต่ละคนต่างมีการรับรู้เรื่องความสวยงามและความพึงพอใจในเรื่องของความงามได้ไม่เท่ากัน ความงามจึงเป็นประเด็นที่
ถกเถียงกันมาก และไม่มีกฎเกณฑ์การตัดสินใด ๆ ที่เป็นตัวกำหนดความแน่ชัดลงไป แต่เชื่อว่างานที่มีการจัดองค์ประกอบที่ดี คนส่วนใหญ่ก็จะมองว่าสวยงามได้เหมือน ๆ กัน
2. มีประโยชน์ใช้สอยที่ดี (Function)การมีประโยชน์ใช้สอยที่ดีนั้นเป็นเรื่องสำคัญมากในงานออกแบบทุกประเภท เช่น ถ้าเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์เก้าอี้ เก้าอี้นั้นจะต้องนั่งสบาย ถ้าเป็นบ้าน บ้านนั้นจะต้องอยู่แล้วไม่รู้สึกอึดอัด ถ้าเป็นงานกราฟฟิกสื่อสิ่งพิมพ์ ตัวหนังสือที่อยู่ในงาน จะต้องอ่านง่าย ไม่ต้องถึงขั้นเพ่งสายตา ถึงจะเรียกได้ว่าเป็นงานออกแบบที่มีประโยชน์ใช้สอยที่ดีได้ เป็นต้น
3. มีแนวความคิดในการออกแบบที่ดี (Concept)แนวความคิดในการออกแบบที่ดีนั้นคือ หนทางความคิดที่ทำให้งานออกแบบที่ได้ ตอบสนองต่อความรู้สึกพอใจ ชื่นชม เรื่องนี้บางคนให้ความสำคัญมากบาง
คนให้ความสำคัญน้อย
ภาพกราฟิก(Graphic)
ภาพกราฟิกคือ ภาพที่ผ่านการตกแต่งด้วยโปรแกรมบนเครื่องคอมพิวเตอร์ อาจเป็นภาพที่ถูกวาดขึ้นมาใหม่ทั้งหมด หรือเป็นการนำภาพถ่ายมาทำการรีทัชตัดต่อบนเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ได้ โดยใช้โปรแกรมกราฟิกมาเป็นตัวสร้างสรรค์จนได้ภาพที่สมบูรณ์ เช่น โปรแกรม lllustrator , CoreDraw , Paint Shop Pri และ Photoshop CS เป็นต้น
คุณค่า และ ความสำคัญของงานกราฟิก
งานกราฟิกเน้นในการสื่อสารด้วยศิลปะระหว่างผู้สร้าง กับผู้รับ (ผู้ดู ผู้เห็น) ดังนั้น คุณค่าของงานกราฟิกก็จะเกี่ยวข้องกับผลระหว่างผู้สร้างและผู้รับด้วยเช่นกัน คือ
• เป็นสื่อกลางในการสื่อความหมาย
• สร้างระบบการเรียนรู้
• สร้างความเร้าใจ น่าสนใจ ประทับใจ และความเชื่อถือได้ของผลงาน
• สร้างความคิดสร้างสรรค์รูปแบบใหม่ โดยการประยุกต์ความคิดจากผลงานเดิม
• สร้างอาชีพและรายได้
• ได้แนวคิดที่ดี มองโลกในแง่ดี เห็นความสวยงามของชีวิต จรรโลงความดีงามในจิตใจของ
มนุษย์ให้สืบต่อไป
จากงานกราฟิกเน้นในการสื่อสารด้วยศิลปะระหว่างผู้สร้าง กับผู้รับ (ผู้ดู ผู้เห็น) ดังนั้นงานกราฟิกจึงมีความสำคัญดังนี้
• ช่วยสรุปความคิด จินตนาการออกมาเป็นข้อมูลที่สื่อสารได้ง่าย
• สร้างระบบการถ่ายทอดที่มีความเด่นชัด แปลความหมายได้รวดเร็ว
• ช่วยสร้างสรรค์วัตถุประดิษฐ์ใหม่ และมีประโยชน์ต่อวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของ มนุษย์
• สร้างระบบการเรียนรู้ สร้างแนวคิดใหม่ๆ
• สร้างค่านิยมทางความคิดที่งดงาม
• สร้างความเจริญก้าวหน้าให้ธุรกิจ สังคม
ที่มา อ้างอิงจาก : http://kruoong.blogspot.com/2010/11/blog-post.html
-------------------------------------------------------
การออกแบบกราฟิก (Graphic Design)
งานกราฟิกเป็นส่วนสำคัญที่มีบทบาทยิ่งต่อการออกแบบและกระบวนการผลิตสื่อ โดยเฉพาะสื่อที่ต้องการการสัมผัสรับรู้ด้วยตา (Visual Communication Design) ได้แก่ หนังสือ นิตยสารวารสาร แผ่นป้ายโฆษณา บรรจุภัณฑ์ แผ่นพับ แผ่นปลิว โทรทัศน์ ภาพยนตร์ เว็บไซต์ ฯลฯ นักออกแบบจะใช้วิธีการทางศิลปะและ หลักการทางการออกแบบร่วมกันสร้างสรรค์รูปแบบสื่อเพื่อให้เกิดศักยภาพ สูงสุดในการที่จะเป็นตัวกลางของกระบวนการสื่อความหมายระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร นักออกแบบกราฟิกจะต้องค้นหา รวบรวมข้อมูลต่างๆ ขบคิดแนวทางและวาง รูปแบบที่ดีที่สุดในอันที่จะทำให้สื่อนั้นสามารถดึงดูดกลุ่มเป้าหมาย (Target Group) ให้เกิดการรับรู้ยอมรับ และมีทัศนคติที่ดีต่อการตอบสนองสื่อที่มองเห็น (Visual Message)
วิธีการออกแบบ และวิธีแก้ปัญหาการออกแบบโดยการนำเอารูปภาพประกอบ (Illustration) ภาพถ่าย (Photography) สัญลักษณ์ (Symbol) รูปแบบและขนาดของตัวอักษร (Typography) มาจัดวางเพื่อให้เกิดการนำเสนอข้อมูลอย่างชัดเจน เกิดผลดีต่อกระบวนการ สื่อความหมาย และแสดงคุณค่าทางการออกแบบอย่างตรงไปตรงมา งานออกแบบกราฟิก จึงมีลักษณะเฉพาะซึ่งมีวิธีการและวัตถุประสงค์ที่แตกต่างไปจากงานวิจิตรศิลป์ (Fine Arts) แต่ในบางกรณีผู้ออกแบบก็อาจจะสอดแทรกงานศิลปะแท้ๆ (Pure Arts) เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบกราฟิกเพื่อใช้สำหรับกระบวนการสื่อสาร การเรียนรู้ การตลาด การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ ฯลฯ ซึ่งอาจรวมกันเรียกว่า เป็นงานประยุกต์ศิลป์ (Apply Arts) ถ้าเป็นงานที่มีลักษณะเน้นหนักไปทางด้านธุรกิจ การพาณิชย์ ก็จะเรียกว่าเป็นงานออกแบบพาณิชย์ศิลป์ (Commercial Arts) และถ้าเป็น การเน้นวัตถุประสงค์ในแง่ของการสร่างสรรค์สื่อเพื่อการสื่อความหมายก็จะ รวมเรียกว่าเป็นงานออกแบบทัศนสื่อสาร (Visual Communication Design)
ความหมายของการออกแบบกราฟิก (Definition of Graphic Design)
ได้มีผู้ให้ความหมายของคำว่า “กราฟิก” ไว้อยู่หลายความหมายด้วยกัน ในสมัยโบราณหมายความถึง ภาพลายเส้นหรือภาพที่เกิดจากการวัด จากการขีดเขียนที่แสดงด้วยตารางหรือแผนภาพ การวาดเขียนการระบายสี การสร้างงานศิลปะบนพื้นระนาบ หรืออาจกล่าวอีกนักหนึ่งว่างานกราฟิกหมายถึงกระบวนการออกแบบต่างๆ ในสิ่งที่เป็นวัสดุ 2 มิติ คือมีความกว้างและความยาวเท่านั้น เช่น งานออกแบบบ้านของสถาปนิกในการเขียนแบบ ตัวภาพและรายละเอียดบนแปลนบ้านเรียกว่าเป็นงานกราฟิกการเขียนภาพเหมือนจริงของจิตรกร การออกแบบภาพโฆษณาของนักออกแบบ การออกแบบฉลาก หรือลวดลายหรือภาพประกอบ หรือตัวอักษรที่ปรากฏบนฉลากสินค้า บนตัวสินค้าหรือบนภาชนะบรรจุสินค้า ฯลฯ เหล่านี้จัดว่าเป็นงานกราฟิกทั้งสิ้น
คำว่าการออกแบบ (Design) ก็มีความหมายเป็นหลายนัยเช่นกัน จากรายศัพท์ลาตินคำว่า Design ซึ่งมาจาก Designare หมายถึงกำหนดออกมา กะหรือขีดหมายไว้ เป้าหมายที่จะแสดงออกซึ่งหมายถึงสิ่งที่อยู่ในอำนาจความคิด (Conscious) อันอาจเป็นโครงการ รูปแบบหรือแผนผังที่ศิลปินกำหนดขึ้นด้วยการจัดท่าทางถ้อยคำ เส้น สี รูปแบบ โครงสร้างและวัสดุต่างๆ โดยใช้หลักเกณฑ์ทางความงามหรือสุนทรียภาพ (Aesthetic Principle) ประดิษฐ์คิดสร้างสรรค์ขึ้นจากสิ่งที่ง่ายที่สุด ไปจนสิ่งที่ยุ่งยากสลับซับซ้อนเต็มที่
บรรทัดฐานในการออกแบบ
1. การตอบสนองประโยชน์ใช้สอย (Function) เป็นข้อสำคัญมากในการออกแบบทั้งหมด ในงานออกแบบ กราฟิกนั้น ประโยชน์ใช้สอยมีอิทธิพลกับงานที่เราออกแบบ เช่น งานออกแบบหนังสือ ต้องอ่านง่าย ตัวหนังสือชัดเจนไม่วาง เกะกะ กันไปซะหมด หรืองานออกแบบเว็บไซต์ถึงจะสวยอย่างไร แต่ถ้าโหลดช้าทำให้ผู้ใช้งานต้องรอนาน ก็ไม่นับว่าเป็นงาน ออกแบบเว็บไซต์ที่ดี หรืองานออกแบบซีดีรอม ถ้าปุ่มที่มีไว้สำหรับกดไปยังส่วนต่าง ๆ ของเนื้อหานั้นวางเรียงอย่าง กระจัดกระจาย ทุกครั้งที่ผ้าใช้งานจะใช้ก็ต้องกวาดตามองหาอยู่ตลอด อย่างนี้ก็เรียกว่าเป็นการออกแบบที่ไม่สนอง ต่อประโยชน์ใช้สอย เป็นงานออกแบบไม่ดี ดังนั้นนักออกแบบจึงต้องคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยเป็นเรื่องสำคัญอันดับแรก ในการออกแบบเสมอ
2. ความสวยงามพึงพอใจ (Aesthetic) ในงานที่มีประโยชน์ใช้สอยดีพอ ๆ กัน ความงามจะเป็นเกณฑ์ตัดสิน คุณค่าของงาน โดยเฉพาะงานออกแบบกราฟิก ซึ่งถือเป็นงานอกแบบที่มีประโยชน์ใช้สอยน้อยกว่างานออกแบบด้านอื่น อย่าง งานออกแบบผลิตภัณฑ์ งานออกแบบสถาปัตยกรรมต่าง ๆ ฯลฯ ความสวยงามจึงเป็นเรื่องสำคัญและมีอิทธิพลในงาน ออกแบบกราฟิกอย่างมาก
.3. การสื่อความหมาย (Meaning ) เนื่องจากงานศิลปะนั้นจะมีคุณค่าก็ต่อเมื่อมันสื่อความหมายออกมาได้ งาน กราฟิกก็คืองานศิลปะเช่นกัน การสื่อความหมายจึงเป็นสิ่งที่นักออกแบบขาดเสียไม่ได้ในการออกแบบ ต่อให้งานที่ได้สวยงาม อย่างไรแต่ไม่สามารถตอบโจทย์ของงานออกแบบ หรือสื่อสิ่งที่ผู้ออกแบบคิดเอาไว้ได้ งานกราฟิกนั้นก็จะมีคุณค่าลดน้อย ลงไป
มองอย่างไรให้เป็น : Be Graphic Eyes
เรื่องของการมองภาพนั้นเป็นเรื่องที่ฝังอยู่ในสามัญสำนึก อยู่ในความรู้สึกหรือที่หลายคนมักเรียกกันว่าเซ็นส์ (Sense) ของเราอยู่แล้ว มนุษย์ทุกคนมีความสามารถในการรับรู้เรื่องความสวยงาม ถึงแม้จะไม่เหมือนกันทุกคน แต่ส่วนใหญ่ก็มีแนวโน้มที่เหมือนกันคล้ายกันกับพื้นฐานในศิลปะที่ติดตัวทุกคนมาตั้งแต่เกิดเพียงแต่ว่าใครจะมีมากหรือน้อย ใครจะได้รับการฝึกฝนมากกว่ากันหรือใครจะดึงออกมาใช้งานได้มากกว่ากัน
เราในฐานะผู้ออกแบบต้องก้าวข้ามพื้นฐานสามัญของมนุษย์นี้ออกมาเพราะการมองภาพสวยไม่สวยเพียงอย่างเดียวคงไม่พอ และไม่สามารถทำให้เราออกแบบงานกราฟิกที่ดีได้ การมองภาพที่สามารถสร้างให้เราเป็นนักออกแบบกราฟิกได้นั้น จะต้องเป็นการมองเข้าไปในแก่นของภาพ ซึ่งมีเรื่องหลักอยู่2 เรื่องด้วยกัน คือ
1. มองเข้าไปในความหมายของภาพ (Meaning) ที่นัก ออกแบบต้องการสื่อ
2. มองลึกเข้าไปในรายละเอียดขององค์ประกอบต่าง ๆ (Element) ที่อยู่ภายในภาพ
รวมทั้งมีความเข้าใจและคิดวิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ ข้างต้น ให้เป็นแบบอย่างที่เก็บอยู่ในคลังสมองของเรา เพื่อนำกลับมาใช้ในการออกแบบในภายหลัง
ภาษาภาพ : Visual Language
มนุษย์เราเป็นสัตว์สังคมที่มีความต้องการใช้ชีวิตอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อนเป็นกลุ่มสังคม ดังนั้นจึงแทบเป็นไปไม่ได้ที่มนุษย์จะหลีกหนีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันมนุษย์จึงมีการใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการสื่อสารสร้างความเข้าใจระหว่างกันและกัน
ตัวภาษามีจุดสำคัญอยู่ที่การสื่อความหมายให้มีความเข้าใจตรงกัน เช่น เรามีภาษาพูดที่ใช้สื่อสารระหว่างกัน และเป็นภาษาที่เราเลือกใช้ได้ง่ายที่สุดแค่เปล่งเสียงออกมาเท่านั้น แต่ลองนึกภาพ ถ้าสมมติว่าเช้าวันหนึ่งเราตื่นขึ้นมากลางกรุงเม็กซิโกเราจะพูดกับใคร พูดกันอย่างไร ...........
ภาษาพูดจึงมีข้อจำกัด โดยเฉพาะข้อจำกัดในกลุ่มคนที่ใช้ภาษาพูดคนละภาษา (หลายคนอาจจะพูดว่าภาษาอังกฤษก็น่าจะเป็นสื่อกลางได้ แต่ก็ยังมีอีกหลายคนที่ส่ายหน้าปฎิเสธ) ภาษาพูดไม่สามารถทำให้คนสามารถเข้าใจได้ตรงกันทั่วโลก มนุษย์จึงใช้วิธีการสื่อสารระหว่างกันทางอื่นนั่นก็คือภาษาภาพ ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
การรับรู้ภาพ : Perception Image
การรับรู้ภาพเกิดจากการมองเห็นด้วยตาเป็นด่านแรก ผ่านการประมวลผลจากสมองและจิตใจ เป็นการรับรู้และทำความเข้าใจ มีความหมายของใครของมัน และการรับรู้ของแต่ละคนขึ้นอยู่กับการฝึกฝน การมองงานมาก ๆ การพยายามสร้างความ เข้าใจภาพเปรียบเหมือนเรายิ่งฝึกพูด ฝึกฟัง ภาษาอังกฤษบ่อย ๆ ก็จะทำให้เก่งภาษาอังกฤษได้นั่นเองเราแบ่งภาพที่รับรู้ได้ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ด้วยกันคือ
ภาพที่เราเห็น (Visual Image) ภาพที่เราเห็นคือ ภาพที่ผ่านสายตากระทบโสตประสาทของเรา
ภาพที่เรานึกคิด (Conceptual Image)ภาพที่เรานึกคิดคือ ภาพที่ผ่านการมองเห็น ผ่านขบวนการประมวลผลจากสมองแล้วเลยนึกสร้างเป็นภาพอื่นตาม
ที่มา อ้างอิงจาก : http://student.nu.ac.th/nackie/Instruction/overview.html
|
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)